top of page

วิชาการ วิชางาน วิชาเงิน


จากประสบการณ์ส่วนตัวกว่า 40 ปี ระบบการศึกษา และระบบงาน ในโลกความเป็นจริง ผมได้เรียนรู้ว่า ในชีวิตเรา จะมีการเรียนรู้ อย่างน้อย 3 วิชา ที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ 3 วิชานั้นก็คือ


วิชาการ

วิชางาน

วิชาเงิน



วิชาการ ก็คือ ความรู้ที่เราได้ศึกษามาจาก ระบบการศึกษาทั่วไป และศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเองในรูปแบบต่างๆ เมื่อเรียนจบในระดับอุดมศึกษามาแล้ว วิชาการนี้ ก็สามารถใช้ในการทำงานได้ แต่อาจทำได้โดยมีขีดจำกัด


วิชางาน ก็คือ การนำความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้เฉพาะทาง มาใส่ในกระบวนการทำงาน จนเกิดทักษะ ความชำนาญ วิชางานนี้ ถ้าทำจนมีทั้ง ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ และประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมและเพียงพอแล้ว หากไม่มีเหตุปัจจัยอื่นๆ มาทำให้สะดุด ก็สามารถนำพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยากในหน้าที่งาน ระดับสูงๆ ในองค์กร แต่ถ้าคาดหวังจะรำ่รวยนั้น บอกตรงๆ ว่ายาก ต้องอาศัยตัวช่วยอื่นประกอบ นั่นก็คือ การออม และการลงทุน เพื่อเพิ่มมูลค่าในทรัพย์สินที่ตัวเองมีผ่านการลงทุนในรูปแบบต่างๆ


วิชาสุดท้าย ก็คือ วิชาเงิน ฟังคำนี้แล้วอย่าไปเข้าใจเป็นความรู้ด้านการเงิน นะครับ วิชาเงินนี้ ก็คือ การนำทุกสิ่งอย่างที่เรามีหรือสะสมมา ไม่ว่าจะเป็น 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) ประสบการณ์ 4) ไอเดีย มาสร้างธุรกิจที่นำมาซึ่งเงินทองมาให้เรา อย่างมากมาย การจะทำอย่างนั้นได้ ต้องมีทั้ง 4 อย่างข้างต้น อย่างเหมาะเจาะ หลายคนอาจพูดว่า แล้วการเริ่มธุรกิจ อีก 2 สิ่งที่สำคัญและจำเป็นไม่แพ้กัน คนจำนวนมาก ยังคิดด้วยซ้ำไปเลยว่า ถ้าไม่มี 2 สิ่งนี้ ก็หมดสิทธิ์ที่จะทำธุรกิจได้ด้วยซ้ำ นั่นก็คือ


- เงินลงทุน

- ทีมงาน


พูดตรงๆ นะครับ 2 สิ่งนี้สำคัญมากจริงๆ และก็ต้องใช้ทั้ง 2 สิ่งนี้แน่นอน.. แต่ถ้าเราไม่มีหรือมีน้อย เราก็ยังสามารถที่จะหาด้วยวิธีทางอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่ง 2 สิ่งนี้ได้ เช่นเงินลงทุนก็สามารถหา ผู้ร่วมลงทุน กู้ยืมจากธนาคาร หรือแม้กระทั่งจากพวก Venture Capital


ส่วนทีมงาน แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถ ทำเองได้หมดทุกฟังก์ชัน หรือ อาจไม่ได้ถนัด หรือเชี่ยวชาญในบางฟังก์ชันงาน โดยเฉพาะพวก Supportive Functions อย่างเช่น บัญชี การเงิน เพราะเราสามารถใช้บริการจากบุคคลภายนอก หรือที่เรียกว่า Outsources มารับผิดชอบแทนได้ เช่น สำนักงานบัญชี มาช่วยทำบัญชีบริษัทให้ หรือใช้บริการในส่วนงาน SME ของธนาคารมาเป็นที่ปรึกษา ด้านการเงิน การลงทุน ก็มีตัวเลือกมากมายหลายธนาคารในปัจจุบัน


แต่เจ้า 4 อย่างข้างต้นนั้น ถ้าเราใช้คนอื่นทำแทน ผมก็คิดว่าเราเองจำเป็นต้องมี เจ้า 4 อย่างนี้ไว้กับตัวเอง ด้วยระดับหนึ่ง เช่น การขาย เราอาจใช้ระบบตัวแทนมาใช้ในดำเนินธุรกิจ แต่ถ้าเราไม่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ด้านงานขายเลย ก็ยากที่เราจะบริหารและสร้างตัวแทนที่แข็งแกร่งได้


แม้กระทั่งงานด้าน การตลาด ก็มีศาสตร์และศิลปะ ที่แตกต่างกันกับ การขาย อยู่พอสมควร หากเราไม่มีความสามารถด้านการตลาดแล้วนั้น แม้เราจะจ้าง Outsources หรือ Freelance คิดแทนให้ แต่พวกนั้นก็ไม่สามารถเข้าถึง ความต้องการด้านการตลาดได้ดีเท่าเจ้าของแบรนด์ และในการทำงานด้านการตลาด การให้ข้อมูลแก่บุคคลภายนอก ก็นับเป็นความสุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง เพราะอาจหมายถึงความรั่วไหลของข้อมูลสำคัญที่อาจทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำต่อคู่แข่งขันได้ ดังนั้นเราเองถึงต้องมีความสามารถด้านการตลาดเพื่อกรองระดับของข้อมูลที่ควรให้แค่บุคคลภายนอก


ส่วนเจ้า ไอเดีย ที่นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่จะแปลง ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ให้เกิดความน่าสนใจ แตกต่าง และสามารถจับจุดความต้องการของตลาด และผู้บริโภค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น Must Have ที่คนทำธุรกิจต้องมี ไปพึ่งคนอื่น ก็เท่ากับยืมจมูกคนอื่นเค้าหายใจ.. ที่เห็นได้ชัดก็คือ คุณตัน ไงครับ ที่แม้ขายกิจการโออิชิไปแล้ว ก็สามารถสร้าง อิชิตัน ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่ง ในภาวะที่ตลาดเครื่องดื่มชาเขียวอิ่มตัวอย่างมากแล้ว แถมยังตลาดเครื่องดื่มน้ำจับเลี้ยงแบรนด์ เย็น เย็น ให้สามารถทำยอดขายแซงยอดขายชาเขียวทุกรสชาติ ในเวลาเพียง 2 ปีเศษ เห็นไหมครับว่า การมีไอเดีย ไว้กับตัว มันสำคัญมากแค่ไหน



คนบางคน ที่ใช้ "วิชาการ" เป็นหลักในการทำงาน ก็จะทำงานได้ในบางสาขาอาชีพ เช่น ครู นักวิชาการ


คนบางคน ที่ใช้ "วิชาการ + วิชางาน" ในการทำงาน ประกอบอาชีพเฉพาะทาง ก็สามารถสำเร็จได้ แต่ถ้าจะให้ร่ำรวย ต้องอาศัย การลงทุนด้านอื่นประกอบ เช่น พวกมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หรือพวก Freelance ในสาขาอาชีพต่างๆ


คนบางคน ที่ใช้ทั้งสามวิชาคือ "วิชาการ + วิชางาน + วิชาเงิน" ได้อย่างเหมาะสมและลงตัว ไม่ยากเลยครับที่จะสำเร็จ และรำ่รวยได้ เรียกได้ รวย โดยที่ไม่ต้อง ไปต่อยอดทรัพย์สิน ด้วยการลงทุนด้านอื่นเลย เช่น เจ้าของกิจการที่พบเห็นตัวอย่างได้มากมายในโลกธุรกิจ !!





Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Classic
  • Twitter Classic
  • Google Classic
bottom of page