top of page

เลียนแบบ ง่าย แล้วได้จริงหรือ?


สิ่งที่นิยมทำกันอีกอย่างหนึ่งนอกจากการลดราคา ก็คือ การเลียนแบบ หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า ก็อปปี้

จะเห็นได้ว่า เรามักจะเห็นคนไทย ทำอะไรตามๆ กันมากมาย ตั้งแต่ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ยันเรื่องใหญ่โต

ไม่เว้นแม้แต่เรื่อง ธุรกิจ อย่างที่เราจะเห็นได้บ่อยครั้ง ผ่านตาเรา เช่น

  • ร้าน ชาไข่มุก ร้านกาแฟ ร้านเครป

  • ร้าน 7-11 ร้านขายมือถือ ร้านเสริมสวย ร้านเกม-เน็ต

  • ร้านเสริมสวย ขายเครื่องสำอาง อาหารเสริม

สำหรับธุรกิจที่แข่งกัน ก็จะออกสินค้า คล้ายคลึงกัน เพื่อแย่งชิง ลูกค้าและยอดขาย ที่เห็นได้ชัดเจนมากๆ คือ พิซซ่า ที่หน้าตาเมนูพิซซ่า นี่แทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อันไหนพิซซ่า ฮัท อันไหน พิซซ่า คอมพานี

ตลาดมือถือก็เช่นกัน หน้าตาออกไปทำนองเดียวกันหมด โดยเฉพาะกลุ่มตลาด สมาร์ทโฟน..

การก็อปปี้ จึงเป็นเสมือนอยู่ใน DNA ของคนทำธุรกิจ ดังเช่น การลดราคา

แต่ก่อนเราจะก็อปปี้ ให้ถามตัวเองซักนิดว่า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเค้าต้องการอะไรกันแน่ เค้าเลือกสินค้านั้นๆ เพราะอะไร?

ตัวอย่างที่เห็นชัด ก็คือ ไอโฟน.. เพิ่งจะทำขนาดจอใหญ่ (เกิน 5 นิ้ว) หลังจากที่ Samsung ออก Note มาแล้ว 4 ปี !! แต่ทำไม ไอโฟนที่ไม่ยอมเลียนแบบ ถึงยังขายดิบขายดี..

ฟังก์ชัน ปากกา S Pen Samsung ออกมาแล้ว 5 รุ่น (ปัจจุบัน Note 5 เพิ่งวางจำหน่าย) แล้วก็ขายดีทุกรุ่น จนรุ่น Galaxy S เริ่มถูกกลืน โดย Serie Note แต่ทำไม ไอโฟน ยังไม่มีท่าที หรือแผนการออก ไอโฟน รุ่นที่มีปากกามาวางตลาดเลย

ฟังก์ชั่น Multi Window ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับกลุ่มผู้ใช้ Phablet / Tablet ที่ Samsung ออกมาแล้วไม่ต่ำ 4 ปี ไอแพด ก็ไม่มีท่าทีจะเลียบแบบในจุดนี้ซักที ทั้งๆ ที่ลูกค้าไอแพด ก็เรียกร้องอยากให้มีฟังก์ชั่นนี้ใน ไอแพดบ้างมานานแล้ว..

ผมวิเคราะห์ได้ 2 สาเหตุ คือ

  1. Apple วางตัวเองเป็น ผู้นำ นวัตกรรม เพราะฉะนั้น การก็อปปี้ตรงๆ จะไม่ทำ ถ้าจะทำต้องมีกระบวนการทำให้ กลุ่มเป้าหมาย ไม่รู้สึกว่า Apple กำลังลอกเลียนแบบ..

  2. Apple ต้องการสร้างความเฉพาะตัว เพื่อรักษาตลาด และครองใจกลุ่มเป้าหมาย ในรูปแบบและวิธีการของตัวเอง ไม่ต้องการไปตามเกม ของคู่แข่ง แต่อย่างใด

นั่นเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า มันมีวิถีทางในการทำธุรกิจ ที่ไม่จำเป็นต้อง ก็อปปี้ กัน แต่สามารถนำพาธุรกิจ อยู่รอด และเติบโตได้เช่นกัน

Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Classic
  • Twitter Classic
  • Google Classic
bottom of page